Friday, July 20, 2007

ใครคือ ผู้มีสิทธิบัตรทอง

ผู้ที่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือผู้ที่มีสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ หรือที่หลายคนทราบ คือ ผู้มีสิทธิบัตรทอง แต่คงมีคำถามที่หลายคนสงสัยว่า “ใครล่ะ?จึงจะทำบัตรทองได้ ” หรือ “ผู้มีสิทธิได้รับบัตรทองคือใคร?” เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติตามระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕ “บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้” จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่กำหนดว่า บุคคลทุกคน มีสิทธิ แต่นั่นไม่ได้หมายความครอบคลุมทุกคนมีสิทธิอยู่ในประเทศไทย บุคคลทุกคน ตามมาตรา ๕ นี้ หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทยการตีความที่กำหนดให้สิทธิเฉพาะแก่บุคคลที่มีสัญชาติไทย เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดขึ้นโดยอาศัยเหตุผลตามบทบัญญัติมาตรา ๕๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดให้ชนชาวไทยมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ได้ครอบคลุมทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย แต่มีสิทธิเฉพาะผู้มีสัญชาติไทย แม้ว่าจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย แต่ก็ไม่มีสิทธิได้รับบัตรทองทุกคนได้ในขณะนี้ เนื่องจากในมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิในการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ บุคคลอื่นใดที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายเงินจากงบประมาณ หรือผู้ซึ่งได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิของบุคคลอื่น รวมทั้งผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้ายการประกันสังคม ให้การมีสิทธิรับบัตรบริการสาธารณสุขของบุคคลดังกล่าว เป็นไปตามที่กฎหมาย ระเบียบ หรือประกาศที่หน่วยงานต้นสังกัดนั้นกำหนด จนกว่าจะมีการตกลงกันระหว่างหน่วยงานต้นสังกัดกับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บุคคลดังกล่าวจึงจะมีสิทธิได้รับบัตรทอง มาตรา ๙ “ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณะสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งใดๆที่กำหนดขึ้นสำหรับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ (๒) พนักงานหรือลูกจ้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๓) พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายเงินจากงบประมาณ (๔) บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตร หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิของบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ในการนี้ให้คณะกรรมการมีหน้าที่จัดการให้บุคคลดังกล่าวสามารถได้รับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ได้ตกลงกันกับรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ แล้วแต่กรณี

No comments: