Monday, July 30, 2007

รายการคลีนิคบัตรทองตอนที่ 1



ดูตอนอื่นๆที่นี่

Thursday, July 26, 2007

สามแยกสามสิบ​(บาท)​ตอนที่​ 1

คู่มือหลักประ​กัน​สุขภาพแห่งชาติ​ ​ปีงบประมาณ​ 2550

สปสช.ออกคู่มือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประจำปี 2550 แล้วหน่วยบริการทุกแห่งสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ครับ โดยให้หน่วยบริการใช้เป็นมาตรฐานและเอกสารอ้างอิง ในแนวทางการดำเนินงานของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

สปสช.เปลี่ยนแปลงการส่งข้อมูลDBPOP

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้แจ้งผ่านทางหน้าเวบถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีส่งข้อมูลDBPOP โดยจะเพิ่มการส่งข้อมูลให้กับหน่วยบริการด้วย โดยหน่วยบริการสามารถดาวน์โหลดได้โดยตรงที่เมนู E-Register โดยใช้ UsernameและPassword เดียวกับที่ใช้ตรวจสอบสิทธิ์ของโรงพยาบาล และจะให้ดาวน์โหลดเดือนละ 3 ครั้ง ตามการเปลี่ยนแปลงของสิทธิ์ ไฟล์ที่ให้ดาวนโหลดก็จะเล็กๆ เพราะจะตัดให้เฉพาะข้อมูล ที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งเท่านั้น แต่ก็ต้องใช้กับโปรแกรม iWelfareUC ที่สปสช.จัดทำใหม่เท่านั้น โปรแกรม WelfareUC2 เดิม จะไม่สามารถนำเข้าข้อมูลนี้ ซึ่งกลุ่มงานประกันสุขภาพ จะจัดประชุมชี้แจงเร็วๆนี้ ในระหว่างนี้เราก็ใช้ โปรแกรมเดิมในการลงทะเบียนได้ไม่มีปัญหาครับ หน่วยบริการใดจะลองเข้าไปดาวน์โหลดเก็บไว้ก่อนก็ได้นะครับ ลองเข้าไปดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ ถ้าเข้าระบบไม่ได้ยังไงจะได้แก้ไขแต่เนิ่นๆครับ

Friday, July 20, 2007

การใช้งานโปรแกรม Google Talk

โปรแกรม Google Talk เป็นโปรแกรมในกลุ่มโปรแกรม Instant Messenger คือคุยกันผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เหมือนโปรแกรม ICQ,Sanook! QQ , MSN Messenger หรือ Yahoo Messenger แต่ความสามารถของโปรแกรมนี้ เมื่อไปรวมกับบริการ Gmail ของ Google แล้วสามารถช่วยให้การทำงาน ของเจ้าหน้าที่ลงทะเบียนบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีประสิทธิภาพดีขึ้นได้ เนื่องจากใช้ระบบ Gmail ในการรับส่งข้อมูลลงทะเบียนอยู่แล้ว หากหน่วยบริการใดสนใจ ก็ลองศึกษาวิธีการติดตั้งใช้งานได้เลยครับ

พิมพ์บัตรเมื่อบัตรหาย แต่ข้อมูลในเครื่องไม่มี

ถาม ตอนนี้มีปัญหา​​ ​​ปี​​ 2549 ​​และ​​ 2550 ​​ตั้งแต่​​​เดือน​​ ​​เมษายน​​ ​​เรื่อยไป​​ ​​ประชาชนที่มา​​​เอาบัตร​​​หรือ​​​ทำ​​​บัตรหาย​​ ​​ทางเราปริ๊นบัตร​​​ให้​​​ไม่​​​ได้​​ ​​จะ​​​ให้​​​แก้ปัญหา​​ ​​โดย​​​พวกเรา​​​ต้อง​​​คีย์ข้อมูล​​​แล้ว​​​ส่ง​​​ให้​​​ใหม่​​​หรือ​​​เปล่าครับ​​/​​ค่ะ​​ ​​หรือ​​​ว่า​​​จะ​​​ให้​​​ทำ​​​ยัง​​​ไง​​ ​​กรุณาชี้​​​แนะ​​​ด้วย​​
ตอบ
เข้า​ไปที่​เมนู
​​พิมพ์บัตร​​ 8 ​​บัตร​​(กระดาษต่อ​​​เนื่อง)
ใน​หน้า​เวบตรวจสอบสิทธิ์ครับ​
แต่พิมพ์​ได้​ทีละ​ใบนะครับ
ใน​กรณีที่ประชาชนมาทีละคน

แต่​ถ้า​จะ​ต้อง​ทำ​หลายๆ​ใบ
หรือ​พิมพ์​แบบยกชุด
คง​ต้อง​นำ​ข้อมูล​เข้า​ทั้ง​หมด
คือนำ​ข้อมูลลงทะ​เบียนที่ส่งมา​ ​สสจ​.​เข้า​ (เช่น​ Reg940014000_298_ 24042550.mdb)
แล้ว​ก็นำ​ข้อมูลที่​ได้​รับ​จาก​ ​สสจ​.​เข้า​ (เช่น​ UCS_94001_233_272550.zip)
ทำ​อย่างนี้ทีละงวดๆ
หากไฟล์มี​เยอะ​ให้​ดูที่​ ​วันเดือนปีที่​ไฟล์​นั้น​ส่งออก​ ( ​ตัวหนา)

ใครคือ ผู้มีสิทธิบัตรทอง

ผู้ที่มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือผู้ที่มีสิทธิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ หรือที่หลายคนทราบ คือ ผู้มีสิทธิบัตรทอง แต่คงมีคำถามที่หลายคนสงสัยว่า “ใครล่ะ?จึงจะทำบัตรทองได้ ” หรือ “ผู้มีสิทธิได้รับบัตรทองคือใคร?” เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติตามระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕ “บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้” จะเห็นได้ว่ากฎหมายที่กำหนดว่า บุคคลทุกคน มีสิทธิ แต่นั่นไม่ได้หมายความครอบคลุมทุกคนมีสิทธิอยู่ในประเทศไทย บุคคลทุกคน ตามมาตรา ๕ นี้ หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทยการตีความที่กำหนดให้สิทธิเฉพาะแก่บุคคลที่มีสัญชาติไทย เนื่องจากพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดขึ้นโดยอาศัยเหตุผลตามบทบัญญัติมาตรา ๕๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกำหนดให้ชนชาวไทยมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขตามกฎหมายฉบับนี้จึงไม่ได้ครอบคลุมทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย แต่มีสิทธิเฉพาะผู้มีสัญชาติไทย แม้ว่าจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย แต่ก็ไม่มีสิทธิได้รับบัตรทองทุกคนได้ในขณะนี้ เนื่องจากในมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ กำหนดให้บุคคลที่มีสิทธิในการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ บุคคลอื่นใดที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายเงินจากงบประมาณ หรือผู้ซึ่งได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิของบุคคลอื่น รวมทั้งผู้ประกันตนตามกฎหมายว่าด้ายการประกันสังคม ให้การมีสิทธิรับบัตรบริการสาธารณสุขของบุคคลดังกล่าว เป็นไปตามที่กฎหมาย ระเบียบ หรือประกาศที่หน่วยงานต้นสังกัดนั้นกำหนด จนกว่าจะมีการตกลงกันระหว่างหน่วยงานต้นสังกัดกับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ บุคคลดังกล่าวจึงจะมีสิทธิได้รับบัตรทอง มาตรา ๙ “ขอบเขตของสิทธิรับบริการสาธารณะสุขของบุคคลดังต่อไปนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มติคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งใดๆที่กำหนดขึ้นสำหรับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ และให้ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ (๑) ข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วนราชการ (๒) พนักงานหรือลูกจ้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๓) พนักงานหรือลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานให้แก่หน่วยงานอื่นของรัฐหรือบุคคลอื่นที่มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยใช้จ่ายเงินจากงบประมาณ (๔) บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตร หรือบุคคลอื่นใดที่ได้รับสวัสดิการการรักษาพยาบาลโดยอาศัยสิทธิของบุคคลตาม (๑) (๒) หรือ (๓) ในการนี้ให้คณะกรรมการมีหน้าที่จัดการให้บุคคลดังกล่าวสามารถได้รับบริการสาธารณสุขตามพระราชบัญญัตินี้ได้ตกลงกันกับรัฐบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ แล้วแต่กรณี

สิทธิบัตรทอง เป็นมาอย่างไร

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๕๒ บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” และมาตรา ๘๒ บัญญัติว่า “รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐาน และมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง”
ที่ผ่านมา การดำเนินการที่เกี่ยวกับการรับบริการสาธารณสุขให้แก่บุคคลทั่วไป ยังไม่มีการตรากฎหมายเพื่อให้สิทธิ แต่เป็นการดำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้ระบบประกันสุขภาพ

ระบบประกันสุขภาพถือเป็นกลไกลที่ทำหน้าที่หลัก ๒ ประการ คือ ทำให้เกิดการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็น และป้องกันความเสียหายที่เกิดจากความเสี่ยงทางการเงินในการรับภาระค่ารักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูง ระบบประกันสุขภาพมิได้จำกัดแต่เพียงระบบที่แต่ละคนที่ได้ใช้จ่ายเงินเพื่อเอาประกัน ( contributory scheme ) แต่หมายรวมถึงระบบสวัสดิการที่พึ่งพาแหล่งเงินทุนในระบบภาษีอากรอีกด้วย ( คณะทำงานสาธารณสุขและการพัฒนาคุณภาพชีวิต สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โครงการวิจัยความคิดเห็นของประชาชนต่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าภายใต้หลักความรับผิดชอบร่วมกัน )